สไตล์การคั่วเมล็ดกาแฟ

Last updated: 3 ส.ค. 2562  |  5729 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สไตล์การคั่วเมล็ดกาแฟ

จากบทความที่แล้ว การคั่วกาแฟคืออะไร มีผลต่อรสชาติกาแฟอย่างไร  คราวนี้เรามาลงรายละเอียดกัน ว่าในวงการกาแฟ เขาแบ่งระดับการคั่วไว้อย่างไรบ้าง? แต่ละระดับการคั่วให้ผลดีผลเสียอย่างไรบ้าง? เหมาะแก่การทำกาแฟแบบไหนบ้าง?

 

ตารางจำแนกประเภทการคั่วกาแฟ

สีจากการคั่วรูปลักษณ์ชื่อเรียกของการคั่วลักษณะเดิมของกาแฟบอดี้กลิ่นคาราเมล
สีอ่อนแห้งซินนามอนชัดเจนเบาไม่มี
สีอ่อนถึงปานกลางแห้งอเมริกันเรกูลาร์ชัดเจนเริ่มมีบอดี้มีบ้าง
สีปานกลางแห้งมีน้ำมันบ้างอเมริกันเบรกฟาสต์ชัดเจนบอดี้เเน่นกลิ่นคาราเมลเข้มข้น
สีปานกลางถึงเข้มเริ่มเป็นมันวาวซิตี้ , ฟูลซิตี้ , เวียนนามีน้อยลงมากน้อยลง
สีเข้มเป็นมันวาวคอนทิเนนทัลยุโรป , อิตาเลียน , เฟรนช์ แทบจะไม่เหลือ

บอดี้เริ่มน้อยลง

ไม่มีกลิ่นคาราเมล กลิ่นของการคั่วกาแฟกลบกลิ่นทุกอย่าง

 

การนำไปใช้ในการทำกาแฟประเภทต่างๆ 

1. ซินนามอน

  • เหมาะกับกาแฟร้อน และ การทำกาแฟที่ต้องการดึงรสชาติหรือคุณสมบัติกาแฟสูงสุด
  • เหมาะแก่การทำกาแฟแบบ ดริป , french press , Americano

2. อเมริกันเรกูลาร์

  • เหมาะกับกาแฟร้อนที่ต้องการความหวานของกาแฟมากขึ้น และต้องการความเปรี้ยวน้อยมาก 
  • เหมาะแก่การทำกาแฟแบบ ดริป , french press , Americano , Latte , Cappucino , moka pot

3. อเมริกันเบรกฟาสต์

  • เหมาะกับกาแฟร้อนหรือเย็นที่ต้องการบอดี้เยอะๆ 
  • เหมาะแก่การทำกาแฟแบบ ดริป , french press , Latte , Cappucino , moka pot , Aeropress

4. ซิตี้ , ฟูลซิตี้ , เวียนนา

  • เหมาะกับกาแฟเย็นที่ต้องการรสชาติเดิมของกาแฟไม่มาก
  • เหมาะแก่การทำกาแฟแบบ เอสเพรสโซ่เย็น 

5. คอนทิเนนทัลยุโรป , อิตาเลียน , เฟรนช์ 

  • เหมาะกับกาแฟเย็นที่ต้องการรสชาติของกาแฟเข้มๆ
  • เหมาะแก่การทำกาแฟแบบ เอสเพรสโซ่เย็น , กาแฟสำเร็จรูป

หมายเหตุ การนำการคั่วกาแฟระดับต่างๆไปใช้ในการทำกาแฟไม่มีสูตรที่ตายตัว สิ่งที่ให้ไปเป็นแค่แนวทางการเริ่มต้นทำกาแฟที่ถูกต้องตามหลักการในหนังสือทฤษฎีของกาแฟทั่วไป กาแฟประเภทใหม่ๆ หรือเทรนด์กาแฟใหม่ๆ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการทดลองหรือลองผิดลองถูกที่แตกต่างจากทฤษฎีเก่า ดังนั้นผู้ที่ฝึกทำกาแฟตามทฤษฎีจนชำนาญแล้วอยากยกระดับตัวเองขึ้นไป ทำกาแฟให้เป็นสูตรของทางร้านสามารถ นำกาแฟระดับการคั่วต่างๆไปทดลองได้ตามความต้องการครับ


 

อ้างอิง : ข้อมูลบางส่วนนำมาจากหนังสือ how to make coffee (the science behind the bean) , ลานิ คิงส์ตัน