การสตีมนมทำอย่างไร?

Last updated: 19 พ.ย. 2562  |  57898 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การสตีมนมทำอย่างไร?

วันนี้เรามาพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่ใช่กาแฟบ้างดีกว่า เราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า คนสมัยนี้ทานกาแฟเพียงอย่างเดียว กาแฟที่มีส่วนผสมของนมเป็นที่แพร่หลายอย่างมากโดยเฉพาะประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเมนู ลาเต้ คาปูชิโน่ แม้กระทั่งเอสเพรสโซ่เย็นก็ตาม

 

การสตีมนมคืออะไร (Steam milk)

- การทำฟองอากาศขนาดเล็กจนไม่อาจเห็นด้วยสายตา (มักเรียกว่า "ไมโครโฟม" (microfoam)) โดยโฟมแบบนี้จะมีความยืดหยุ่น เทได้ และเสริมสัมผัสให้เครื่องดื่มมีความนุ่มมากขึ้น

 

นมที่ควรใช้ในการสตีมนม

-โดยหลักการแล้ว โปรตีนในนมจะเป็นตัวพยุงฟองอากาศ และไขมันในนมมีผลต่อการเพิ่มสัมผัสให้กับกาแฟ ทำให้นมธรรมดานั้นถูกนำมาใช้ในการทำสตีมนมเป็นส่วนใหญ่เพราะทำให้เกิดรสชาติที่ดีเมื่อผสมกับกาแฟ ส่วนถ้าใช้นมพร่องมันเนยจะทำให้ความเข้มข้นของกาแฟมีมากอาจจะได้รับรสชาตินมน้อย

อุณหภูมิที่เหมาะสมในการสตีมนม

- อุณหภูมิมีผลอย่างไร ขอตอบตามประสบการณ์คนที่เคยทำสตีมนมกันมานะครับ ตอบได้เลยว่ามีผลอย่างมาก ถ้าอุณหภูมิไม่ถึงตามทฤษฎีจะทำให้ฟองนมนั้นบางไม่ฟูและไม่มีความเนียน กลับกันการที่อุณหภูมิเกินกว่าค่าทางทฤษฎีก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของนมเมื่อนมสุกจะได้รสชาติของมที่ไม่ดีนัก ซึ่งอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการสตีมนมคือ 60-80 องศาเซลเซส หรือ ถ้าใครมีเทอโมมิเตอร์ที่วัดอุณหภูมิตอนสตีมนมจะมีช่วงสีแดงบอกอยู่ นั่นแหละเป็นค่าที่นักกาแฟใช้กัน
วิธีสตีมนม

1. ไล่ไอน้ำและน้ำออกจากก้านสตีมก่อนเพื่อกันน้ำเปล่าเข้าไปผสมกับนม

2. เทนมสดแช่เย็น (ฟองจะขึ้นสวยและง่ายกว่ามาก) ลงบนเหยือกสตีม (เหยือกตีฟองนม หรือ pitcher) ในปริมาณไม่ควรเกิน 60%ของเหยือก และหนีบเทอโมมิเตอร์ไว้ที่ขอบเหยือก

3. จุ่มปลายก้านสตีมนมลงในนม (ประมาณครึ่งนึงของหัวสตีม) ตำแหน่งตรงกลางของเหยือก

4. เปิดวาล์วแรงดันให้สุด (พยายามอย่าให้นมกระเซ็น) ถ้านมไม่หมุนเป็นลงกลมเป็นแนวกระเพื่อมให้จุ่มหัวสตีมลึกลงไปอีกนิด ข้อแนะนำ ให้เอียงหัวสตีมนมประมาณ 45 องศา จะทำให้นมหมุนสวย

5. เมื่อตีฟองนมจนอุณหภูมิถึง 55 องศาเซลเซสให้หยุดโดยการปิดวาล์ว เพราะว่าความร้อนจะไหลขึ้นไปอีก ทำให้เกิน 60-80 อาศาเซลเซส

ขอแนะนำ
- กรณีเมื่อทำเสร็จแล้วเกิดเป็นฟองอากาศขนาดใหญ่ ให้่ทำการเคาะเหยือกให้ฟองค่อยๆแตก เมื่อเริ่มหมดแล้วให้หยุดเหยือกเพื่อให้ฟองนมเนียนขึ้น
- กรณีไม่มีเทอร์โมมิเตอร์ให้เอามือแตะใต้ก้นเหยือกสตีม จนกว่าจะร้อนระดับที่เอามือแตะไม่ได้ค่อยปิดวาล์ว
- ระวังเรื่องความร้อนของ ก้านสตีม และเหยือกสตีม

คลิปสาธิตการสตีมนม